วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555
งานนำเสนอกลุ่ม
จัดทำโดย
เด็กชายโยธิวาธิน พรมสุรินทร์ เลขที่ 1
เด็กหญิงกาญจนี พุฒโสม เลขที่ 3
เด็กหญิงปวีณา มารักษ์ เลขที่ 25
เด็กหญิงเบญจวรรณ คำภา เลขที่ 45
วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555
แนะนำตัว
สวัสดีค่ะ ดิฉันชื่อ เด็กหญิงเบญจวรรณ คำภา ชื่อเล่น บ๋อมแบ๋ม กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/7 โรงเรียนอำนาจเจริญ ค่ะ ^_____^
วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555
วันแม่แห่งชาติ
วันแม่แห่งชาติ
ประวัติความเป็นมาของวันแม่
งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่
10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข
แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป
เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก
แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง
ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493
แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป
ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน
ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม
พ.ศ. 2515
สัญลักษณ์วันแม่
"คำว่าแม่
"นั้นมีความหมายในใจลูกทุกคน จนยากที่จะเปรียบเทียบได้กับทุกสรรพสิ่งในโลก
กับทุกสรรพสิ่งในโลก ดังคำขวัญที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ได้พระราชทานไว้ว่า “แม่เป็นพระอรหันต์ของลูก
คนที่เที่ยววิ่งหาพระเพื่อกราบไหว้พระอรหันต์ อย่าลืมว่ามีพระอรหันต์อยู่กับตัวแล้ว
ควรปฏิบัติต่อแม่อย่าให้บกพร่องได้"
ประเทศไทยเริ่มจัดงานวันแม่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2486 ณ
สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน
ต่อมามีการเปลี่ยนกำหนดงานวันแม่หลายครั้ง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2519
คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนโดยให้ถือว่า
วันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม
เป็นวันแม่แห่งชาติ และ
กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
ด้วยเหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก
คนไทยถือเป็นดอกไม้มงคล นิยมเอาดอกมะลิมาร้อยเป็นมาลัยเพื่อบูชาพระ
และดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน
อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี
เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลายมะลิ นอกจากนี้
มะลิดอกแห้งก็ยังสามารถใช้ปรุงเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้เป็นอย่างดี
“ดอกมะลิ” จึงกลายสัญลักษณ์หนึ่งที่มาพร้อมกับเทศกาล “วันแม่” ซึ่งเป็นวันที่บรรดาลูกให้ความสำคัญกับผู้ที่ให้กำเนิดเป็นพิเศษ
และไม่ว่าจะเลือกดอกมะลิพันธุ์ใด ที่มีประมาณ 10 กว่าพันธุ์ หรือ
ซื้ออะไรให้แม่ก็ตาม มันก็ไม่สำคัญเท่าความรู้สึกลึก ๆในหัวใจ ของแต่ละคนที่จะมอบความรัก
ต่อแม่ทุกๆวัน และ คงไม่ยากจนเกินไปนัก หากเอ่ยคำว่า “รักแม่ กอดแม่
ให้ความสุขกับท่านทุกวัน" เพื่อให้ท่านได้ชื่นใจ เพราะคุณอาจโชคดีกว่าหลาย ๆ
คนที่ได้เพียงแต่รำลึกถึงพระคุณแม่ผ่านภาพ
และเงาที่ตราตรึงไว้ในความทรงจำเท่านั้นว่า“ลูกรักแม่” วันแม่ปีนี้อย่าลืมทำให้แม่ผู้มีพระคุณได้มีความสุขกันนะ
มะลิเป็นพรรณไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง
แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบๆ ลำต้นสูงประมาณ 5 ฟุต
ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกเป็นคู่ ไปตามก้านต้นลักษณะใบป้อมมน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ
ขอบใบเรียบไม่มีจัก ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบยาว 2-3 นิ้ว มีดอกมะลิเป็นดอกเดี่ยว
ออกเป็นช่อตามปลายยอดหรือปลายกิ่งประมาณ 3-5 ดอก
แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน
ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ มะลิออกดอกตลอดปี
มะลิเป็นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด กลางแจ้ง อากาศถ่ายเทสะดวก ต้องการน้ำปานกลาง
ควรปลูกในดินที่ร่วนซุย ขยายพันธุ์มะลิโดยการปักชำกิ่ง หรือตอนกิ่ง
มะลินอกจากจะมีกลิ่นหอมไว้ดมแล้ว
มะลิดอกแห้งใช้ปรุงเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
กิจกรรมต่าง ๆ
ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ
1.
ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
2.
จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ
3.
จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล
เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
4.
นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่
วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน
๘ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันพระธรรม" และ "วันพระสงฆ์" นับเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา
คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้ เป็นครั้งแรกแก่ปํญจวัคคีย์ทั้ง
๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณ
ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
วันอาสาฬหบูชามีเหตุการณ์สำคัญในทางพระพุทธศาสนาอยู่
3 ประการ ดังนี้
1. เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา
โดยทางแสดงพระปฐมเทศนา คือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร
ประกาศสัจธรรมอันเป็นองค์แห่งพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่พระองค์ตรัสรู้
ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ สรรพสัตว์ทั้งหลาย
2. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระอริยสงฆ์สาวกขึ้นในโลก คือ พระโกณฑัญญะ
เมื่อได้ฟังพระปฐมเทศนาจบ ได้ดวงตาเห็นธรรม ได้ทูลขออุปสมบท
และพระพุทธเจ้าได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีเอหิภิกษุอุปสัมปทา ในวันนั้น
3. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตน
และพระสังฆรัตนะ ขึ้นในโลกอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์
การปฏิบัติตนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ตอนเช้าข้าพเจ้าทำบุญตักบาตรพร้อมทั้งฟังพระธรรมเทศนา ตอนเย็นข้าพเจ้าเวียนเทียนและถือศีล ณ
วัดบ้านกุดปลาดุก ตำบลกุดปลาดุก อำเภอเมือง
จังหวัดอำนาจเจริญ
วันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษา
(วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา
(วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15
ค่ำ เดือน 11) ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย
โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน
โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น
15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย
วันเข้าพรรษา
กำหนดเป็น 2 ระยะ คือ ปุริมพรรษา และปัจฉิมพรรษา ดังนี้
1. ปุริมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาต้น ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ
เดือน 8 ของทุกปี หรือราวเดือนกรกฎาคม และออกพรรษาในวันขึ้น
๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ราวเดือนตุลาคม
2. ปัจฉิมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาหลัง สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง หรือราวเดือนกรกฎาคม และจะออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
ราวเดือนตุลาคม
ความสำคัญและประโยชน์ของการเข้าพรรษา
1. ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา
ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ
ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย
ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์
2. หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา
8 - 9 เดือน ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน
3. เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง
และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึง
วันออกพรรษา
4. เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช
อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชน
ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา
ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข
และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา
การปฏิบัติตนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ตอนเช้าข้าพเจ้าทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา ตอนเย็นข้าพเจ้าสวดมนต์ไหว้พระและนั่งสมาธิ ณ
วัดบ้านกุดปลาดุก ตำบลกุดปลาดุก อำเภอเมือง
จังหวัดอำนาจเจริญ
วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
โปรแกรมคำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยมพื้นผ้า
4.2 ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมหาพื้นที่สี่เหลี่ยมพื้นผ้า และแสดงผลการหาค่าทางกล่องตอบโต้
<html>
<head>
<script language="javascript">
<!--
var a;
var b;
a=prompt("ความกว้าง");
b=prompt("ความยาว");
alert("พื้นที่สี่เหลี่ยมพื้นผ้า="+a*b);
</script>
วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)